แม้คนพิการจะมีอยู่ในทุกกลุ่มประชากรทั่วโลก
แต่เรื่องราวของคนพิการได้รับความสนใจค่อนข้างน้อยมาเป็นเวลาช้านาน ในยุคแรกๆ
นั้นการสงเคราะห์ช่วยเหลือคนพิการมีรูปแบบที่ไม่แตกต่างกันมากนักในแต่ละประเทศ
เช่น ประเทศอังกฤษ มีการออกกฎหมายที่เรียกว่า Elizabethan Poor law ในปี ค.ศ.1601 สำหรับช่วยเหลือผู้มีปัญหาเดือดร้อน
ซึ่งถือว่าเป็นจุดเริ่มต้นของการให้ความสนใจแก่กลุ่มบุคคลที่ต้องการความช่วยเหลือประเทศต่างๆ
การพัฒนาประเทศหลังสงครามโลกครั้งที่
2 ทั้งในสหรัฐอเมริกาและในยุโรป
ทำให้เกิดความก้าวหน้าทางอุตสาหกรรมและความก้าวหน้าทางวิทยาศาสตร์
ทำให้มีคนพิการเพิ่มมากขึ้น
ในขณะที่ทัศนคติทางสังคมที่มีต่อคนพิการในทางลบก็เปลี่ยนแปลงไปในทางที่ดีขึ้น
ดังนั้น ในปี ค.ศ. 1922 ประเทศต่างๆ
จึงได้เข้าร่วมกันจัดตั้งองค์การฟื้นฟูสมรรถภาพคนพิการระหว่างประเทศ (International Society
For Rehabilitation of the Disabled ซึ่งต่อมาเปลี่ยนเป็น Rehabilitation
International หรือ RI )
ขึ้นเพื่อส่งเสริมการฟื้นฟูสมรรถภาพคนพิการ โดยมีสมาชิกจากประเทศต่างๆกว่า 100
ประเทศทั่วโลก รวมทั้งประเทศไทยด้วย
แผนการดูแลพิเศษในสหรัฐอเมริกา
แผนนี้จัดทําขึ้นก่อนเปิดเรียนโดยคณะกรรมการ ซึ่งประกอบด้วยผู้ปกครอง
ครูการศึกษาพิเศษ ครูสอนเด็กเรียนร่วม นักวิชาการด้านหลักสูตร นักจิตวิทยา
ผู้บริหาร โรงเรียนหรือผู้แทน โดยคณะกรรมการประจํา School district จะทําหน้าที่ตัดสินสภาพความ บกพร่องของเด็กและวินิจฉัยว่า
สมควรได้รับการศึกษาพิเศษหรือไม่อย่างไร หากผู้ปกครองไม่
พอใจกับการตัดสินของคณะกรรมการสามารถอุธรณ์ได้ จุดเด่นที่สําคัญประการหนึ่ งของกฎหมาย คือ การให้ความช่วยเหลือเบื้องต้นแก่เด็ก แรกเกิดจนถึงอายุ 3 ขวบ ซึ่งได้รับการผนวกเข้าไปในกฎหมายเป็นหมวดที่ว่าด้วย ทารกและ เด็กที่ด่อยความสามารถตามคําจํากัดความหมายถึงเด็ก 0-3 ขวบ ที่แสดงสัญญาณแห่งการ ด่อยความสามารถทางพัฒนาการด้านต่าง ๆ ได้แก่
1. พัฒนาการทางร่างกาย
2.
พัฒนาการด้านความคิดความจํา
3. พัฒนาการด้านการสื่อสาร/สื่อความหมาย
4.
พัฒนาการทางอารมณ์และสังคม
5. พัฒนาการด้านการปรับตัว
ตามนัยแห่งกฎหมายนี้รัฐจะต้องจัดบริการการช่วยเหลือเบื้องต้นแก่เด็กทุกคนที่
สงสัย ว่ามีปัญหาใดปัญหาหนึ่งหรือมากกว่าตั้งแต่ข้อ 1 - 5 ที่กล่าวข้างต้น การให้ความช่วยเหลือจะ
เหมือนกัน โดยขั้นต้นในการให้ศึกษาพิเศษคือ ขั้นแรกเป็นการทดสอบเด็ก ต่อไปเป็นการจัดทํา แผนเฉพาะบุคคล ซึ่งรวมจุดม่งหมาย หลักสูตรวิธีการดําเนินงาน และการวัด/ประเมินผลตามที่ กําหนดไว้แล้ว แผนการให้บริการทางครอบครัวเฉพาะบุคคล (ผคบ.) (Individualized Family Service Plan - IEP.) มีลักษณะคล้ายแผนการศึกษาเฉพาะบุคคล (IEP) เป็นแผนการให้ความช่วยเหลือ
เบื้องต้นแก่เด็ก ซึ่งเริ่มต้นด้วยการทดสอบเด็ก ศึกษาและหาข้อมูลที่
เกี่ยวกับเด็กให้มากที่สุด แล้วนําข้อมูลมาประกอบในการกําหนดจุดมุ่งหมายกําหนดรายละเอียดของแผนการให้ความ
ช่วยเหลือว่าจะให้ความช่วยเหลือแก่เด็กในลักษณะใดบ้าง และในตอนสุดท้ายเป็นการ
ประเมินผลของแผนการดําเนินงานว่าให้ช่วยเด็กให้มีการพัฒนาการเพิ่มขึ้นเพียงใด
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น