วันศุกร์ที่ 4 ธันวาคม พ.ศ. 2558

อ้างอิง

อ้างอิง

การดูแลคนพิการทางสายตา. [ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก :  http://www.doctor.or.th/ask/detail/8267 (วันที่ค้นข้อมูล :1 7 พฤศจิกายน 2558).

การฟื้นฟูสมรรถภาพทางการมองเห็น. [ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก : http://webcache.googleusercontent.com/search?q=cache:eeR3xq-Ac4gJ:med.mahidol.ac.th/eye/sites/default/files/public/presentation/visual%2520rehabilitation.doc+&cd=8&hl=th&ct=clnk&gl=th (วันที่ค้นข้อมูล :1 7 พฤศจิกายน 2558).

ดาวซินโดมปัญญาอ่อนที่พัฒนาได้.[ออนไลน์].  เข้าถึงได้จาก : http://www.ideaforlife.net/health/disease/down_syndrome/0005.html (วันที่ค้นข้อมูล :1 7 พฤจิกายน 2558).

เด็กพิเศษออทิสติก เด็กมีภาวะออทิสติก (Autistic). [ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก: http://www.momypedia.com/ (วันที่ค้นข้อมูล : 17 พฤจิกายน 2558).

อาชาบำบัด. [ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก:http://www.matichon.co.th/news_detail.php?newsid=1448951932&grpid=&catid=19&subcatid=1905 (วันที่ค้นข้อมูล :1 7 พฤศจิกายน 2558).

หุ่นยนต์เสริมพัฒนา ช่วยเด็กออทิสติก. [ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก: http://www.manager.co.th/QOL/ViewNews.aspx?NewsID=9580000091815 (วันที่ค้นข้อมูล :1 7 พฤศจิกายน 2558).

โรคสมองพิการ. [ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก: http://www.doctor.or.th/article/detail/4060 (วันที่ค้นข้อมูล :1 7 พฤศจิกายน 2558).


การรักษาภาวะกล้ามเนื้อหดเกร็งในเด็กสมองพิการ. [ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก: http://www.somdej.or.th/index.php/2014-11-05-03-09-32/14-sample-data-articles/450-2014-11-27-03-54-42 (วันที่ค้นข้อมูล :1 7 พฤศจิกายน 2558).

กายภาพบำบัด (Physical Therapy หรือ Physiotherapy) .[ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก: http://www.banrajawadee.com/th/service_pics_01.php (วันที่ค้นข้อมูล : 17 พฤศจิกายน 2558).

  มูลนิธิคณะนักบุญคามิลโลแห่งประเทศไทย  ) .[ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก:                            http://www.camillianthailand.org/(วันที่ค้นข้อมูล : 17 พฤศจิกายน 2558).




รูปภาพ

  บรรยากาศลงพื้นที่เก็บข้อมูลและการสัมภาษณ์










 รูปถ่ายขณะนำเสนองานในชั้นเรียน















ความคิดเห็นของสมาชิก


ศรัญญา สถาพรพานิช 55020513

ปลายฝน: มีความคิดเห็นว่า เด็กคืออนาคตของชาติและเป็นกำลังสำคัญในอนาคต ในฐานะที่นิสิตเป็นนักการจัดการบริการสังคมนิสิตอยากให้รัฐบาลเข้ามาสนับสนุนในด้านการศึกษาที่เหมาะสม ส่งเสริมแล้วสร้างทัศนคติที่ดีให้กับเด็กพิการ สนับสนุนสวัสดิการการรักษาการทำกายภาพบำบัดให้เด็กพิการมีสิทธิและเท่าเทียมกัน และช่วยลดค่าใช้จ่ายและภาระของผู้ปกครอง สร้างสิ่งอำนวยความสะดวก เช่น ราวจับบันได ทางลาด ลิฟท์ที่มีอักษรเบล การขนส่งที่เหมาะสม มีนักกายภาพบำบัดให้ความรู้ความเข้าใจและปรึกษารับฟัง นิสิตมีความคิดว่าการดำเนินงานที่บ้านคามิลเลียนค่อยข้างดูแลเด็กพิการดี แต่นิสิตคิดว่าหากได้รับการสนับสนุนจากภาครัฐคงจะดีมากยิ่งขึ้น .
ณัฐพงศ์ หอมหนุน 55021556

ความคิดเห็นในเรื่องที่ทำ ตอนที่ได้ไปลงพื้นที่ ที่บ้านคามิลเลี่ยนที่ลาดกระบังรู้สึกว่ามีหน่วยงานมูลนิธิ หรือกลุ่มที่เรียกตัวเองว่าบ้านคามิลเลี่ยนที่ไม่ได้ดูแลเพียงแค่เด็กพิการ แต่ยังดูแลทั้งผู้สูงอายุ ผู้ทุพพลภาพ ทั้งหมด แต่ที่บ้านลาดกระบังจะดูแลเฉพาะเด็กพิการและเด็กพิการไร้บ้านรู้สึกได้ถึงความใจบุญและคำว่าการให้ที่แท้จริงเป็นยังไง ภายในจะมีการช่วยฟื้นฟูดูแล โดยไม่เสียค่าใช้จ่ายใดๆ รู้สึกขอบคุณและเป็นกำลังใจให้มูลนิธิให้ช่วยเหลือสังคมต่อไป และถ้ามีโอกาสก็จะมาช่วยทำจิตอาสาที่นี่ครั้งเหมื่อนกัน
อธิปติ เนตรไธสงค์ 55021593

จากการที่ได้ไปลงพื้นที่ศึกษาดูงานเกี่ยวกับคนพิการครั้งนี้ รู้สึกดีใจที่เรานั้นได้เกิดมาปกติทุกประการ ซึ่งต่างกับที่เรสได้ไปเจอที่บ้านคามิลเลียน ไหนจะพิการไม่พอ ยังต้องมามีผลข้างเคียงอีก ผมมีความรู้สึกว่าสังคมไม่ควรรังเกียจคนพิการ เพียงแต่เค้าพิการ ไม่มีใครอยากเกิดมาพิการทั้งนั้น ทุกคนก้อยากเป็นคนปกติกันทุกคน คนพิการเค้าก็อยากใช้ชีวิตแบบคนปกติทั่วไป เพียงแต่สภาพร่างกายเค้าเท่านั้น แต่จิตใจเค้าก็ยังคงสู้ต่อไป




ธีรทัศน์ อัศวปานทิพย์ 55021558

ความคิดเห็นของผมต่อเรื่องที่ทำ ตอนที่ได้ไปลงพื้นที่ศึกษาดูงานผู้พิการเรื่องการพัฒนาศักยภาพของผู้พิการที่บ้านคามิลเลี่ยนลาดกระบังมีความพร้อมที่จะพัฒนาเด็กพิการให้เค้าเข้ามาใช้ชีวิตในสังคมได้โดยตนเอง แต่ทางบ้านได้รับเงินสนับสนุนจากรัฐบาลน้อยมากในแต่ละปีอยากให้รัฐบาลช่วยสนับสนุนเงินให้กับมูลนิธิต่างๆให้มากกว่านี้เพื่อที่จะนำเงินที่ได้ส่วนนี้ไปพัฒนาผู้ที่มีภาวะยากลำบาก



ภัทราภรณ์ เอี่ยวชม 55021571

รู้สึกว่าคนเราไม่ว่าจะลำบากขนาดไหนมันก็ยังมีทางออกอยู่เสมอ เหมือนกับน้องๆที่เป็นเด็กที่มีความต้องการพิเศษถึงแม้ว่าจะไม่สามารถดำรงชีวิตอยู่ได้อย่างปกติแต่ก็ยังมีมูลนิธิคอยช่วยเหลือ บำบัดฟื้นฟู ให้น้องๆดีขึ้น ไม่ว่าจะมีความลำบากหรือไม่ลำบาก และเราก็ยังได้แง่คิดสะท้อนมาถึงตัวเราให้ไปปรับใช้กับชีวิตทุกวันๆได้


ภูมิชัย จันทน์เทศ 55021572

การที่ได้ทำงานเกี่ยวกับเด็กที่มีความต้องการพิเศษทำให้ได้เปิดมุมมองในสังคมในอีกด้านอีกแง่นึง ถึงแม้บางคนจะคิดว่าเด็กเหล่านี้เหมือนเป็นภาระของสังคมแต่ในอีกด้านยังมีอีกหลายคนที่พร้อมจะดูแล ยอมรับ และหาทางแก้ปัญหา มันเป็นจุดเริ่มต้นดีๆที่ถ้าคนอื่นได้เข้ามาดูจะรู้ว่ามันไม่ใช่ภาระแต่เป็นปัญหาที่ต้องช่วยกันแก้ไขถึงจะผ่านไปได้



ภวรัญชน์ ศรีพายัพ 55021570

ในความคิดของดิฉัน การได้เกิดมาเป็นคนที่มีความพร้อมนั้นเป็นโชคดีอย่างยิ่ง แต่จะมีประโยชน์อันใดถ้าเราไม่ใช้โอกาสแห่งความพร้อมที่เราพอจะมีมากกว่าคนอื่น ช่วยเหลือชีวิตอื่นๆ ที่ยังต้องการการค้ำจุนอยู่อีกมาก และสิ่งที่ดิฉันได้รับกลับคืนมาชัดเจนที่สุดคือ ความสุขในจิตใจที่รู้สึกว่าชีวิตนี้ไม่ไร้ค่า และสามารถทำประโยชน์ให้กับชีวิตอื่นได้ด้วย



เอมอร ช่างกรึง 55021595

มีความคิดเห็นว่าชีวิตทุกชีวิตล้วนมีคุณค่า ไม่ว่าจะเกิดมาครบ 32 หรือว่าเกิดมาเเล้วร่างกายไม่สมบูรณ์ ก็ตามเเต่ได้ขึ้นชื่อว่าเกิดเป็นมนุษย์เเล้วนั่นคือมันวิเศษที่สุด ซึ่งจากการที่ข้าพเจ้าได้มีโอกาสไปศึกษางานที่บ้านคามิเลี่ยน ของวิชา ผู้พิการศึกษา ยิ่งทำให้รู้เลยว่าน้องๆที่เป็นดาวซินโดม กับ ออทิสติกนั้น เค้าก็เหมือนกับเรา มีความรู้สึกนึกคิด เเต่ต้องการการรดูเเลเป็นพิเศษเพื่อที่จะให้เขาอยู่ในสังคมได้ ต้องการกำลังใจ ไม่ว่าจะครอบครัว พี่ๆ น้องๆ คุณครู จิตอาสาต่างๆ ทำให้เขารู้สึกว่าเราไม่ได้รังเกียจเขา เเละโปรดสงสารเเละอย่ารังเกียจคนเกล่านี้เลย เเละในฐานะที่เราได้เรียนเป็นนักจัดการสังคม อย่างให้ประเทศตระหนัก ถึงคนพิการมากขึ้นเเละให้ความสำคัญ เพราะปัจจุบันที่คนพิการเยอะ รัฐควรที่จะเข้ามาสนับสนุน ส่งเสริม หรือเเม้กระทั้งการปรับทัศนียภาพในประเทศเพื่อตอบสนองคนพิการที่อยุ่ในบ้านเมืองเราให้เขาใช้ชีวิตง่ายขึ้นในสังคม



กมลชนก ธาราสมบัติ 55021544

ในการที่ได้ลงพื้นที่บ้านคามิลเลียนลาดกระบัง ทำให้ฉันได้เปิดมุมมองและได้มีทัศนคติใหม่ๆกับเด็กพิการ จากที่เคยคิดว่าเขาน่าสงสารหรือน่ารังเกียจ เมื่อได้เข้าไปใช้ชีวิตกับเขาแล้วความคิดเดิมๆของฉันได้เปลี่ยนไปจากเดิมเกือบทั้งหมด น้องๆทุกคนมีความน่ารักไม่ต่างจากเด็กปกติและยังมีความสามารถที่คนปกติบางคนไม่สามารถทำได้ น้องๆถึงแม้จะบกพร่องทางร่างกายแต่เขาก็พยายามพัฒนาตนเองอยู่เสมอ น้องๆที่บ้านคามิลเลียนไม่ท้อต่อสภาพร่างกายที่เขาเป็นอยู่ ทำให้คนปกติอย่างเรามีกำลังใจในการใช้ชีวิตในทุกๆวันและเชื่อว่าน้องๆก็จะมีกำลังใจที่ดีในการดำเนินชีวิตต่อไปเช่นกัน



นภษร ปั้นบริสุทธิ์ 55021559

ความคิดเห็นของดิฉันที่ได้ไปบ้านเด็กพิการที่คามิลเลี่ยนตอนที่ได้ไปลงพื้นที่ศึกษาดูงานผู้พิการเรื่องการพัฒนาศักยภาพรู้สึกสงสารเด็กๆน้องๆ ที่นั้นมาก ในเคสเด็กบางคนไม่สามารถแม้แต่ช่วยเหลือตนเองได้ การช่วยเหลือตนเอง พอได้เป็นสิ่งที่ยากจึกต้องพึ่ง พี่ๆผู้ที่ดูแล ในความรู้สึก อยากให้ มีการจัดการ ในการดูแลเด็กๆน้องๆเหล่านี้มากขึ้น อยากให้มีการพัฒนาที่ดีขึ้นเพราะในเด็กบางคน ยังมีการพัฒนาได้น้อย และอยากให้มี การสนับสนุนจาก ทุกๆภาคส่วน มาช่วยเหลือ แก่บ้านคามิลเลี่ยน

สาธิตการทำกายภาพบำบัดเบื้องต้น


เคสตัวอย่างผู้ป่วยสมองพิการ บ้านคามิลเลียน


เด็กหญิงฟ้าใส งามแสง
เกิดวันที่ 28 มิถุนายน 2551 อายุ 6 ขวบ
วันแรกที่ได้รับการบำบัด 25 มีนาคม 2555
อาการแรกรับ
: กล้ามเนื้อแขน ขาทั้งสองข้างเกร็ง ไม่สามารถนั่งทรงตัว และคลานได้ แต่สามารถคืบได้ การใช้มือในการหยิบจับสิ่งของน้องจะเกร็งและทำมือทั้งสองข้าง ด้านการพูดและการสื่อสาร น้องสามารถเข้าใจคำสั่ง และพูดเป็นคำๆได้ คำแรกที่น้องพูดได้คือ จ้า
ด้านการกระตุ้นพัฒนาการ : ตลอดระยะเวลาที่น้องเข้ามาอยู่ที่บ้านคามิลเลียนฯ น้องได้รับการกายภาพบำบัดอย่างต่อเนื่อง ฝึกการยืดเหยียดกล้ามเนื้อแขน ขา เพื่อป้องกันไม่ให้เส้นยึดและข้อติดฝึกการลุกขึ้นมานั่งด้วยตนเอง ฝึกนั่งทรงตัว ฝึกคลาน ฝึกยืนเข่าทรงตัว ฝึกการหยิบจับสิ่งของ นวดกล้ามเนื้อรอบปาก นอกจากการกายภาพที่บ้านคามิลเลียนฯแล้ว เราได้พาน้องไปพบแพทย์เฉพาะทางที่ศูนย์สิรินธร จังหวัดนนทบุรี เพื่อติดตามอาการ รับยาลดเกร็ง(Diazepam) และฝึกพูดด้วยน้องได้รับการฝึกพูดประมาณ 2-3 เดือนครูก็ให้มาฝึกต่อที่บ้านคามิลเลียน ปัจจุบันนี้น้องยังคงไปติดตามอาการและรับยาลดเกร็ง 3เดือน/ครั้ง
พัฒนาการปัจจุบัน : พัฒนาการด้านการพูดและการสื่อสาร : น้องไม่สามารถพูดเป็นประโยคยาวๆและสามารถเล่าเรื่องสั้นๆและเหตุการณ์ที่ผ่านมาได้ แต่จะพูดไม่ค่อยชัดเท่าที่ควร การสื่อสารเข้าใจคำสั่ง และพูดโต้ตอบได้
พัฒนาการด้านร่างกายและการเคลื่อนไหว : น้องสามารถลุกขึ้นมานั่งได้และนั่งทรงตัวได้ด้วยตนเอง สามารถคลานได้ สามารถเกาะยืน ยืนเข่าทรงตัวได้ด้วยตนเอง นาน1-2นาที และสามารถเกาะเดินโดยใช้walkerได้ ด้านการใช้มือสามารถหยิบจับสิ่งของ ตักเข้ากินเองได้



เด็กหญิงวันนิษา แต่งตั้ง (รู้ดี)
เกิดวันที่ 8 มกราคม 2552 อายุ 5 ขวบ
วันที่แรกรับกายภาพ 12 พฤษภาคม 2555
อาการแรกรับ
กล้ามเนื้อแขน ขาทั้งสองอ่อนแรงร่วมกับมีอาการเกร็งเล็กน้อย ไม่สามารถคืบ คลาน และไม่สามารถนั่งตัวตรงได้ การใช้มือในการหยิบจับสิ่งของน้องจะเกร็งและกำมือทั้งสองข้าง ด้านการพูดและการสื่อสาร น้องไม่สามารถทำได้
ด้านการกระตุ้นพัฒนาการ
น้องมารับการกระตุ้นพัฒนาการทุกวันเสาร์ มีการยืดเหยียดกล้ามเนื้อแขนขาทั้งสองข้าง ฝึกการกลิ้ง พลิกตะแคงตัวซ้าย ขวา ฝึกลุกขึ้นมานั่งทรงตัว ฝึกยืนบน
Table tilt และฝึกการใช้มือในการหยิบจับสิ่งของ นอกจากนั้นเราก็ได้สอนการกายภาพเบื้องต้นให้กับผู้ปกครองของน้องด้วยเพื่อกลับไปฝึกให้น้องเวลาอยู่ที่บ้าน
พัฒนาการปัจจุบัน
พัฒนาการด้านการพูดและการสื่อสาร
: น้องสามารถส่งเสียงอ้อแอ้ทักทายคนอื่นได้ และสามารถยกมือขึ้นมาสวัสดีได้ เข้าใจคำสั่งได้เล็กน้อย
พัฒนาด้านร่างกายและการเคลื่อนไหว
:
น้องสามารถกลิ้ง พลิกตะแคงตัวได้ สามารถนอนคว่ำชันคอได้ และสามารถนั่งทรงตัวได้ด้วยตนเอง ด้านการใช้มือ ยังไม่สามารถหยิบจับสิ่งของได้

การดูแลและฟื้นฟูเด็กพิการในต่างประเทศ

  แม้คนพิการจะมีอยู่ในทุกกลุ่มประชากรทั่วโลก แต่เรื่องราวของคนพิการได้รับความสนใจค่อนข้างน้อยมาเป็นเวลาช้านาน ในยุคแรกๆ นั้นการสงเคราะห์ช่วยเหลือคนพิการมีรูปแบบที่ไม่แตกต่างกันมากนักในแต่ละประเทศ เช่น ประเทศอังกฤษ มีการออกกฎหมายที่เรียกว่า Elizabethan Poor law ในปี ค.ศ.1601 สำหรับช่วยเหลือผู้มีปัญหาเดือดร้อน ซึ่งถือว่าเป็นจุดเริ่มต้นของการให้ความสนใจแก่กลุ่มบุคคลที่ต้องการความช่วยเหลือประเทศต่างๆ

การพัฒนาประเทศหลังสงครามโลกครั้งที่ 2 ทั้งในสหรัฐอเมริกาและในยุโรป ทำให้เกิดความก้าวหน้าทางอุตสาหกรรมและความก้าวหน้าทางวิทยาศาสตร์ ทำให้มีคนพิการเพิ่มมากขึ้น ในขณะที่ทัศนคติทางสังคมที่มีต่อคนพิการในทางลบก็เปลี่ยนแปลงไปในทางที่ดีขึ้น ดังนั้น ในปี ค.ศ. 1922 ประเทศต่างๆ จึงได้เข้าร่วมกันจัดตั้งองค์การฟื้นฟูสมรรถภาพคนพิการระหว่างประเทศ (International Society For Rehabilitation of the Disabled ซึ่งต่อมาเปลี่ยนเป็น Rehabilitation International หรือ RI ) ขึ้นเพื่อส่งเสริมการฟื้นฟูสมรรถภาพคนพิการ โดยมีสมาชิกจากประเทศต่างๆกว่า 100 ประเทศทั่วโลก รวมทั้งประเทศไทยด้วย

แผนการดูแลพิเศษในสหรัฐอเมริกา

แผนนี้จัดทําขึ้นก่อนเปิดเรียนโดยคณะกรรมการ ซึ่งประกอบด้วยผู้ปกครอง ครูการศึกษาพิเศษ ครูสอนเด็กเรียนร่วม นักวิชาการด้านหลักสูตร นักจิตวิทยา ผู้บริหาร โรงเรียนหรือผู้แทน โดยคณะกรรมการประจํา School district จะทําหน้าที่ตัดสินสภาพความ บกพร่องของเด็กและวินิจฉัยว่า สมควรได้รับการศึกษาพิเศษหรือไม่อย่างไร หากผู้ปกครองไม่ พอใจกับการตัดสินของคณะกรรมการสามารถอุธรณ์ได้ จุดเด่นที่สําคัญประการหนึ่ งของกฎหมาย คือ การให้ความช่วยเหลือเบื้องต้นแก่เด็ก แรกเกิดจนถึงอายุ 3 ขวบ ซึ่งได้รับการผนวกเข้าไปในกฎหมายเป็นหมวดที่ว่าด้วย ทารกและ เด็กที่ด่อยความสามารถตามคําจํากัดความหมายถึงเด็ก 0-3 ขวบ ที่แสดงสัญญาณแห่งการ ด่อยความสามารถทางพัฒนาการด้านต่าง ๆ ได้แก่
     1. พัฒนาการทางร่างกาย
     2. พัฒนาการด้านความคิดความจํา
     3. พัฒนาการด้านการสื่อสาร/สื่อความหมาย
     4. พัฒนาการทางอารมณ์และสังคม
     5. พัฒนาการด้านการปรับตัว

  ตามนัยแห่งกฎหมายนี้รัฐจะต้องจัดบริการการช่วยเหลือเบื้องต้นแก่เด็กทุกคนที่ สงสัย ว่ามีปัญหาใดปัญหาหนึ่งหรือมากกว่าตั้งแต่ข้อ 1 - 5 ที่กล่าวข้างต้น การให้ความช่วยเหลือจะ เหมือนกัน โดยขั้นต้นในการให้ศึกษาพิเศษคือ ขั้นแรกเป็นการทดสอบเด็ก ต่อไปเป็นการจัดทํา แผนเฉพาะบุคคล ซึ่งรวมจุดม่งหมาย หลักสูตรวิธีการดําเนินงาน และการวัด/ประเมินผลตามที่ กําหนดไว้แล้ว แผนการให้บริการทางครอบครัวเฉพาะบุคคล (ผคบ.) (Individualized Family Service Plan - IEP.) มีลักษณะคล้ายแผนการศึกษาเฉพาะบุคคล (IEP) เป็นแผนการให้ความช่วยเหลือ เบื้องต้นแก่เด็ก ซึ่งเริ่มต้นด้วยการทดสอบเด็ก ศึกษาและหาข้อมูลที่ เกี่ยวกับเด็กให้มากที่สุด แล้วนําข้อมูลมาประกอบในการกําหนดจุดมุ่งหมายกําหนดรายละเอียดของแผนการให้ความ ช่วยเหลือว่าจะให้ความช่วยเหลือแก่เด็กในลักษณะใดบ้าง และในตอนสุดท้ายเป็นการ ประเมินผลของแผนการดําเนินงานว่าให้ช่วยเด็กให้มีการพัฒนาการเพิ่มขึ้นเพียงใด

การจัดการเรียนการสอนในชั้นเรียน

หลักสูตร
ไม่แตกต่างจากเด็กปกติทั่วไป ไม่ว่าจะเป็นการอ่าน การเขียน การคิดคำนวณ
การเรียนการสอน จะปรับปรุงและเปลี่ยนแปลงให้เหมาะสมกับเด็ก  คือการสอนทักษะการเคลื่อนไหว ทักษะการดำรงชีวิต
การจัดให้บริการเสริมแก่เด็กที่มีความบกพร่องทางร่างกายและสุขภาพ

ให้บริการเครื่องใช้และเครื่องมือต่างๆ เช่น โต๊ะเก้าอี้พิเศษ มีโน๊ตบุ๊คสำหรับการเรียนการสอน และมีการแก้ไขบำบัดจากผู้เชี่ยวชาญเฉพาะด้านทั้งจิตแพทย์ นักกายภาพบำบัด



เทคนิคการสอน

-ครูต้องเรียนรู้กลไกลหรือการทำงานของอุปกรณ์ที่ติดตัวมากับเด็ก
-ครูควรขอคำแนะนำจากจิตแพทย์และนักกายภาพบำบัดเพื่อช่วยจัดกิจกรรมการเรียนการสอนอย่างเหมาะสม
-ให้ความช่วยเหลือในด้านการเรียน เช่น การติดกระดาษบนโต๊ะ เพื่อเขียนหนังสือ ผูกดินสอบนโต๊ะ จะได้หมดปัญหาในการก้มเก็บดินสอตก
-ให้เวลาเด็กมากขึ้นให้งานที่น้อยลง

สื่อและอุปกรณ์

อุปกรณ์ช่วยอ่าน

- โปรแกรม TAB player และโปรแกรม AMIS
- เครื่องเปิดฟังหนังสือเสียง สำหรับหนังสือเสียงเดซี

เครื่องช่วยจัดท่าทางและท่านั่ง
-โต๊ะวางมอนิเตอร์แบบสัมผัส โต๊ะเขียนหนังสือแบบปรับระดับสูง-ต่ำ
- เก้าอี้ดัดแปลงที่ยืนมีล้อ

อุปกรณ์ช่วยการเขียน
-ที่จับดินสอแบบสามนิ้ว-ที่วางหนังสือแบบปรับระดับความเอียงได้


ที่จับดินสอแบบสามนิ้ว